Our Story

เรื่องราวของเรา

ลิ้มรสอาหารในคอนเซ็ปต์โมเดิร์นไทยซีฟู้ด ที่เลือกสรรวัตถุดิบอาหารทะเลคุณภาพทั้งจากท้องถิ่นและนำเข้า

ภายใต้ชื่อ "พาย" ที่ตั้งอยู่ในแลนด์มาร์คเก่าแก่อย่างเดอะเฮ้าส์ออนสาทร ความหมายของชื่อร้านอาหารกล่าวถึง "การพายเรือ" ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก หลวงสาทรราชายุกต์ เจ้าของคฤหาสน์หลังนี้คนแรก นักธุรกิจผู้มั่งคั่งและผู้ริเริ่มขุดคลองสาทรในช่วงเวลานั้น

วัตถุดิบ

สดใหม่ คุณภาพดีเยี่ยม

พายเลือกสรรเฉพาะวัตถุดิบสด ใหม่ เกรดพรีเมี่ยม จากทั้งในท้องถิ่น และนำเข้าทั่วโลก เช่น หอยเชลล์จากฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น หอยนางรมฌองพอล จากประเทศฝรั่งเศส หอยแมลงภู่ จากประเทศนิวซีแลนด์ เป็นต้น วัตถุดิบท้องถิ่นที่เราภูมิใจนำเสนอ ได้แก่ ปูโคลนจากจังหวัดสมุทรสงคราม ปลาหมึกกล้วยจากจังหวัดชลบุรี และอื่นๆอีกมากมาย
สูตรอาหารของเรา

เมนูซิกเนเจอร์กับรสชาติไทยแท้

พาย นำทีมโดยเอ็กซ์เซกคลูทีฟเชฟ อย่างเชฟโจ วีรเกติ์ นิลายน ผู้ซึ่งได้ทำการรังสรรค์หลากหลายเมนูที่โดดเด่นในรสชาติ เมนูซิกเนเจอร์ที่อยากแนะนำอาทิ ปูอบโคลน โดยใช้ปูโคลนจากจังหวัดสมุทรสงคราม, กุ้งแม่น้ำย่างตัวใหญ่ราดซอสฉู่ฉี่, หอยหลอดฝรั่งเศสปรุงแบบฟลัมเบ้ด้วยซอสเอ็กซ์โอโฮมเมด, ปลาลิ้นหมานำเข้าจากฝรั่งเศสเผาเกลือยัดไส้สมุนไพรไทย และที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งคือเมนูข้าวผัดปูจานยักษ์ สำหรับท่านที่มาทานกันเป็นกลุ่มได้แชร์กัน พิเศษตรงที่เลือกใช้ข้าวหอมออร์แกนิคจากนครปฐมและเนื้อปูนึ่งสดๆกว่าครึ่งกิโลจากสุราษฎร์ธานี
สถานที่ตั้ง

แลนมาร์คของถนนสาทร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานที่ตั้งของพายโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เดอะเฮ้าส์ออนสาทร คฤหาสถ์โคโลเนียลสถาปัตยกรรมแบบนีโอ คลาสสินี้ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2432 เริ่มต้นเป็นบ้านพักของหลวงสาทรราชายุกต์ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2463 ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นโรงแรม และจากนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2491- 2452 อาคารแห่งนี้ได้ถูกใช้เป็นที่ทำการสถานทูตรัสเซียแห่งแรกประจำประเทศไทย
2431
ยม พิศลยบุตร ผู้เป็นเจ้าของอาคารแต่เดิมได้กว้านซื้อที่ดินในพื้นที่ สีลม และทำการขุดคลอง สร้างถนน เพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ขายที่ดินให้กับบุคคลอื่น ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็น "หลวงสาทรราชายุกต์"
2432
คาดการณ์ว่าอาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงสาทรฯ ในปีนี้
2438
หลวงสาทรฯ ถึงแก่กรรมด้วยอหิวาตกโรคเมื่ออายุ 38 ปี
2439
ธุรกิจ ที่ดิน มรดกต่าง ๆ รวมถึงอาคารหลังนี้ได้รับการสืบทอด โดยนางแช่มผู้เป็นบุตรสาว และหลวงจิตร์จำนงค์วานิช (ถมยา รงควนิช) ผู้เป็นบุตรเขย
2459
หลวงจิตร์จำนงค์ขายอาคารหลังนี้ให้กับกรมพระคลังข้างที่หรือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ครอบครัวของ หลวงจิตร์จำนงค์จึงย้ายออกจากอาคารหลังนี้ในเวลาต่อมา
2468
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานอาคารหลังนี้ ให้กับเจ้าพระยารามราฆพ
2469
เจ้าพระยารามราฆพ เสนอขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับกรมพระคลัง ข้างที่ หลังจากนั้นอาคารหลังนี้ถูกเช่าเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมในชื่อ "โรงแรมรอแยล" โดยสตรีชาวอิตาเลียนชื่อ มาดาม อาเดล สตาโร
2491
ระหว่างปี 2491 - 2542 อาคารหลังนี้ถูกเช่าเป็นสถานทูตรัสเซียแห่งแรกในประเทศไทย
2544
กรมศิลปากรเข้าสำรวจอาคารและพื้นที่ และจัดให้เป็นอาคารอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร
2546
พื้นที่ซึ่งครอบคลุมถึงอาคารหลังนี้ถูกเช่าต่อโดยบริษัท นอร์ท สาธรโฮเต็ล จำกัด (โรงแรมดับเบิ้ลยู กรุงเทพ) และได้รับการทำนุบำรุงตั้งแต่นั้นมา ภายหลังในปี 2558 เดอะเฮ้าส์ออนสาทรเปิดให้บริการร้านอาหารและพื้นที่จัดเลี้ยงอย่างเป็นทางการ

บทความเกี่ยวกับพาย